ปลูกกัญชาในบ้านผิดไหม

Last updated: 26 ม.ค. 2565  |  855 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กัญชา

ในอดีตนักเลงกัญชา สูบกัญชาเป็นเรื่องปกติ เพราะทำให้เคลิบเคลิ้มอารมณ์ดี มีความสุข แต่จะรู้สึกขี้เกียจ อยากกินของหวานๆ และคนที่รักการสูบกัญชา จะมีบ้องกัญชาเป็นของคู่กาย ไม่ใช้บ้องกัญชาคนอื่น

บ้องกัญชาจึงเป็นของรักของหวง บางคนแกะลวดลายติดกระจกประดับเพชรพลอยเต็มบ้อง บางคนใช้บ้องสูบกัญชาตั้งแต่หนุ่มจนแก่

“นักร้องลูกทุ่งสมัยก่อนสูบกัญชาทั้งนั้น รพินทร์ ภูไท นี่สูบจัด มันเกี่ยวกับอาชีพของเขา ต้องตาหวานแม่ยกจะได้ติดมากๆ ชาตรี ศรีชล นี่คอกัญชาตัวจริง ผมชอบดูเขาร้องเพลง ตาหวานฉ่ำออกมาเลย” ครูช่างสมบัติ พูลเกิด เล่าไว้ในปฏิวัติกัญชาสยาม 2562 (เขียนโดยนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว )


ในอดีตเคยปลูกกัญชาได้

ในอดีตคนไทยจะปลูกกัญชาไว้หน้าบ้านหรือหลังบ้าน ก็ไม่ผิดกฎหมายใดๆ จะนั่งสูบ ยืนสูบ หรือนำมาใส่อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงเป็นส่วนผสมในยาไทยก็ได้  ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการใช้กัญชาเป็นองค์ประกอบยาไทยในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง ,คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง และตำรายาสภาอุณาโลมแดงร.ศ. 112 จนกระทั่งการรักษาตามแบบแผนตะวันตกเข้ามาในเมืองไทย

กัญชา ถูกประกาศเป็นยาเสพติดตามกฎหมาย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2468,2477 และปี 2522 โดยเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กัญชาก็ไม่ได้ถูกพัฒนาต่อยอดในฐานะตัวยาทางการแพทย์แผนไทย


ปลดล็อคกัญชา ?

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้กัญชาและกัญชงยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 แต่ส่วนของกัญชาและกัญชงที่ได้จากการปลูกหรือผลิตในประเทศ ได้แก่ ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก กิ่ง ก้าน ลำต้น เปลือก ราก และ เส้นใย 

รวมถึงสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบและกากที่เหลือจากการสกัด ซึ่งต้องมี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอื่น ๆ ได้ ประชาชนสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดดังกล่าว ไปประกอบอาหาร ทำยารักษาโรคได้

ส่วนการนำเข้ากัญชาสามารถทำได้ โดยขออนุญาตเป็นยาเสพติด ยกเว้น เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง และเส้นใยแห้ง ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดตามประกาศนี้


ปลูกกัญชาต้องขออนุญาต

แม้จะมีการปลดล็อคอย่างเป็นทางการ แต่ขั้นตอนการขออนุญาตมีรายละเอียดมากมาย ทั้งเรื่องการปลูก การผลิตเป็นยาและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา


หากถามว่า เมื่อปลดล็อคแล้วจะปลูกกัญชาสักต้นในบ้าน ได้ไหม...

ตามหลักการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กำหนดไว้ว่า การปลูกกัญชาเองโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะกัญชายังเป็นยาเสพติดประเภท 5 

แม้จะปลดล็อกบางส่วนของพืชกัญชา เช่นเปลือก เส้นใย ใบ รวมถึง สาร CBD แต่มีข้อแม้ว่าส่วนประกอบดังกล่าวต้องมีที่มาจากแหล่งผลิตที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

โดยผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 93 ของประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท ถ้าเป็นการกระทำเพื่อการค้า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 1,500,000 บาท

และเป็นทราบกันดีว่า แม้กระทั่งการขออนุญาตปลูกกัญชาที่เป็นหน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ สถาบันอุดมศึกษาที่ศึกษาวิจัย หรือเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มกันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตร และร่วมกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อขออนุญาต ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ หรือ อย. และต้องดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ก็มีทางฝ่าย ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย เคยออกมาแถลงว่า “กัญชาถูกกฎหมาย ทำไมยังถูกจับ” โดยให้ข้อมูลว่า

"กฎหมายยาเสพติด ปลดกัญชาจากประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 29 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ระบุว่ากัญชาเป็นยาเสพติด ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว สามารถปลูกและใช้ประโยชน์จากกัญชาได้ หากถูกดำเนินคดี ทางพรรคภูมิใจไทยยินดีส่งทนายความไปช่วย ดูแลคดีให้กับคนปลูก" 

แม้กัญชาจะถูกปลดล็อคแล้ว แต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กำหนดไว้ว่าการปลูกกัญชาเองโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้ทางพรรคภูมิใจไทยจะพยายามผลักดันเรื่องนี้ 

แต่ที่สุดแล้ว กรอบของกฎหมายก็ยังเป็นปัญหา คนทั่วไปไม่สามารถปลูกกัญชาสักต้นไว้ประดับบ้าน  


คำถามคร่าวๆ เกี่ยวกับกัญชา

ผู้ป่วยสามารถปลูกกัญชาเพื่อใช้รักษาตนเองได้หรือไม่

กฎหมายยังไม่ได้มีการอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปหรือผู้ป่วยปลูกกัญชาเพื่อใช้รักษาตนเองได้ หากผู้ป่วยที่ประสงค์จะใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์เพื่อรักษาโรค สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา ที่มีบริการการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์ ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่ผ่านการอบรมจากกระทรวงสาธารณสุข โดยสามารถตรวจสอบได้จาก http://cannabis.fda.moph.go.th/ หรือ http://www.medcannabis.go.th/clinic

เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์แล้ว แพทย์จะพิจารณาถึงความเหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย ที่จะใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์เพื่อรักษาโรค 


สามารถนำเข้าน้ำมันกัญชา (Hemp Oil หรือCannabis oil) จากต่างประเทศ ได้หรือไม่

มาตรา 21 ของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ในช่วง 5 ปีแรกหลังจากที่พระราชบัญญัติมีผล บังคับใช้ ผู้ที่จะนำเข้ากัญชาและผลิตภัณฑ์ของกัญชาได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตและมีคุณสมบัติเป็น ดังนี้ 

1. หน่วยงานรัฐ (ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวกับศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ / ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ / ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม เช่น โรงพยาบาลของรัฐ และมหาวิทยาลัยของรัฐ / ที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด / สภากาชาดไทย) หรือ 

2. ผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด (ผู้ประกอบวิชาชีพ / มหาวิทยาลัยของเอกชนที่จัดการเรียนการสอนทางการแพทย์หรือเภสัช ศาสตร์ / เกษตรกรที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตร) ที่ต้องร่วมด้าเนินการกับหน่วยงานของรัฐ ส าหรับกรณีภาคเอกชนที่มีความสนใจนำเข้า ก็สามารถทำความตกลงร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ ตามข้อ 1. เพื่อร่วมดำเนินการศึกษาวิจัยได้ 

ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวสามารถยื่นค้าขอรับอนุญาตได้ ณ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

Powered by MakeWebEasy.com