Last updated: 10 ต.ค. 2564 | 325262 จำนวนผู้เข้าชม |
หลังจากราชกิจจานุเบกษาออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 โดยใจความระบุถึงชิ้นส่วนของกัญชาและกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ และสามารถนำมาประกองหรือปรุงอาหารได้ในเงื่อนไขที่กำหนด ล่าสุด (20มค) กระทรวงสาธารณสุข กับกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโภชนาการจากส่วนของพืชกัญชาและกัญชงที่ได้รับการยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดนิทรรศการจัดการเรียนการสอนกัญชาและกัญชงศึกษา และมีการสาธิตทำเมนูอาหารพาเพลินที่มีส่วนผสมของกัญชา อาทิ ข้าวกระเพราแกงเขียวหวานเนื้อ หอยแมลงภู่อบพร้อมน้ำจิ้ม เค้กช็อกโกแลต และเครื่องดื่มกัญชา หลายท่านเริ่มให้ความสนใจ ขั้นตอนการขออนุญาตปลูกกัญชา ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกัน และว่าขั้นตอนอย่างไร ต้องติดต่อหน่วยงานไหน และที่สำคัญ ใครขอได้บ้าง
ขั้นตอนการยื่นขอการขออนุญาตปลูกกัญชา 2564
ผู้ขออนุญาตต้องเป็น
1. หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชกรรม วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือสภากาชาดไทย
2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
3. สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย หรือจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
4. ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือสหกรณ์การเกษตรซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
คุณสมบัติผู้ขออนุญาต
1. ผู้ขออนุญาตต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สัญชาติไทย มีที่อยู่ในไทย
2. ผู้ขออนุญาตต้องจัดเตรียมสถานที่ปลูกให้เหมาะสม เช่น สถานที่มีเลขที่ตั้งชัดเจน มีระบบกล้องวงจรปิด
3. ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น แผนการปลูก แผนที่สถานที่ปลูก
4. ยื่นคำขอที่ อย. กระทรวงสาธารณสุข
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุยาเสพติดให้โทษพิจาณาอนุญาตให้ปลูกกัญชา
เอกสารสำหรับผู้รับอนุญาตปลูกกัญชา
ขอผลิตซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่ไม่ใช่เฮมพ์
ประกอบด้วย
1. แบบตรวจเอกสาร F-N2-136
2. แบบ ย.ส. 4/5-1
3. แบบคำชี้แจง
4. แบบหนังสือมอบอำนาจเป็นผู้ดำเนินการ
5. แบบหนังสือมอบอำนาจเป็นผู้ยื่นและรับเอกสาร
แบบฟอร์ม PDF
แบบฟอร์ม Word
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ โทร สายด่วน อย. 1556 กด 3 ในวัน และเวลาราชการได้
เวปไซด์กระทรวงสาธารสุขสำหรับ สืบค้นข้อมูล และรายละเอียดต่างๆ คลิ๊กได้เลย
กฎกระทรวงฯ ยังระบุถึงกรณีผู้ป่วยเดินทางและจำเป็นต้องมียาที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ ว่า ต้องเป็นผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องนำยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 เฉพาะกัญชาติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร สำหรับใช้รักษาเฉพาะตัวภายใน 90 วันตาม คำสั่งของแพทย์ ซึ่ง
ทั้งหมดต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 7 ประเภท คือ
1. เพื่อใช้ทางการแพทย์ในประเทศ
2. เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ทางด้านการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์หรือเภสัชกรรม
3. เพื่อประโยชน์ทางราชการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดและความร่วมมือระหว่างประเทศ
4. เพื่อการผลิตเพื่อส่งออก
5. เพื่อการผลิตสำหรับคนไข้เฉพาะรายของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้าน
6. เพื่อการผลิตที่ไม่ได้ผ่านการรับรองตำรับเพื่อรักษาโรคกรณีจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย และ
7. กรณีผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศนำติดตัวเข้ามาในหรือออกนอกประเทศสำหรับใช้รักษาเฉพาะตัวภายใน 90 วัน
สรุป คือ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ตัวกฎหมายรองรับเพียงใช้กัญชาทางการแพทย์เท่านั้น ดังนั้น หากจะอนุญาตการปลูก การผลิตแล้ว ยังต้องมีเงื่อนไขต่างๆอีกมาก ซึ่งได้กำหนดไว้ในตัวกฎหมายทั้งหมด แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องเน้นความปลอดภัย มีมาตรฐาน
องค์การเภสัชกรรมได้เปิดตัวโครงการผลิตระยะแรก ในการปลูกกัญชาในโรงเรือนระบบปิด เพื่อควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย และการพัฒนาสายพันธุ์ลูกผสมเพื่อนำไปสู่การสกัดน้ำมันกัญชาคุณภาพเพื่อรักษาโรคในแต่ละกลุ่มโรค ทั้งอาการข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็งที่รับคีโม อาการลมชัก อาการปลอกประสาทอักเสบ และปวดเรื้อรัง โดยใช้งบ 10 ล้านบาทเพื่อพัฒนายาสู่เมดิคัล เกรด
เรื่องนี้ นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม(บอร์ดอภ.) บอกหลายครั้งว่า ที่ต้องลงทุนและทำในระบบโรงปิด เพื่อให้ได้มาตรฐานเมดิคัล เกรด เพื่อให้ได้สารสกัดที่มีคุณภาพรักษาเฉพาะแต่ละกลุ่มโรค ซึ่งการทำแบบนี้ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานตามข้อกฎหมายกำหนด แน่นอนว่า มาตรฐานนี้ได้ผ่านการรับรองจาก อย.แล้ว และไม่ใช่แค่อภ. แต่ยังมีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) ในการขออนุญาตด้วยเช่นกัน
ผศ.วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้เชี่ยวชาญด้นการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์พืช องค์การเภสัชกรรม ยังอธิบายว่า พืชทุกชนิดมีคุณสมบัติใจการดูดสารอาหารและโลหะหนักแตกต่างกันกัญชาจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของพืชที่มีคุณสมบัติที่สามารถดูดซับโลหะหนัก 4 ประเภทได้ดี คือตะกั่ว แคทเมียม สารหนู และปรอท ซึ่งจะเห็นว่าก่อนหน้านี้ที่ อภ. นำเอากัญชาของกลางที่เคยคิดว่าจะนำมาสกัดใช้ทางการแพทย์ ไปตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบปนเปื้อนโลหะหนัก อภ.จึงทำโครงการปลูกกัญชาเพื่อเป็นวัตถุดิบเอง โดยได้ฤกษ์ปลูก “กัญชา” ถูกกฎหมายต้นแรกของไทย และของอาเซียนไปแล้ว ไปเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาบนเนื้อที่ 100 ตารางเมตร ของโรงงานผลิตยารังสิต คลอง 10 ขณะที่ยังเปิดส่วนอื่นๆในการพัฒนาสายพันธุ์ สารสกัดที่เหมาะสม ซึ่งมีการเตรียมพร้อมกันมาก่อนและเมื่อกฎหมายเปิด จึงทำการขออนุญาตตามขั้นตอน
การปลูกกัญชาทางการแพทย์ต้องมีความเข้มงวดตามมาตรฐานเมดิคัล เกรด คือ ต้องปลอดสิ่งปลอมปนทุกประเภทและมีปริมาณสารสำคัญสูงในระดับที่คงที่ทุกต้น
ซึ่งปกติมีการปลูกอยู่ 3 แบบ คือ
1. ปลูกในดิน ไม่ว่าจะเป็นดินแท้หรือดินเทียมก็ตาม
2. ปลูกแบบไฮโดรโปนิก หรือปลูกให้รากจุ่มน้ำ และ
3. ปลูกแบบรากลอย (Aeroponics) โดยวิธีที่ 3 เป็นวิธีที่ให้ผลผลิตได้อย่างรวดเร็ว แต่หลายประเทศกังวล อเมริกา แคนาดาก็เคยคิดจะทำ แต่ไม่ได้ทำเพราะมีความเสี่ยงเกิดความเสียหายสูง เนื่องจากต้องควบคุมคุณภาพการปลูกอย่างเข้มงวด พลาดนิดเดียวกัญชาเสียหายหมด แต่อภ.พัฒนาวิธีการแก้ปัญหานี้ได้ ซึ่งถือเป็นความลับไม่สามารถบอกได้
สำหรับระบบที่อภ.ทำนั้น จะเป็นโรงเรือนระบบปิด มีการควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมแสง อย่างแสงสีชมพูม่วงที่ เห็นมีการเผยแพร่ออกมานั่นคือแสงแดดเทียม ซึ่งต้องมีการควบคุมความเข้มข้นของแสงให้พอเหมาะกับช่วงอายุของกัญชา เช่น 2 เดือนแรกจะเปิดตลอด 8 ชั่วโมง หลังพ้น 2 เดือนแรกไปแล้วจะเปิดตลอด 12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อเร่งให้กัญชาออกดอกได้เร็ว ส่วนเมล็ดกลมๆ สีชมพู คือดินเหนียวเผาขยาย ให้ปรุ บางแห่งใช้ดินเหนียวผสมถ่านหินเผาด้วยอุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส คุณสมบัติของมันคือเป็นตัวยึดต้นกัญชาให้รากลอย และเก็บน้ำ ออกซิเจน รวมถึงสารอาหารต่างๆไว้
ในส่วนของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ร่วมกับทางไบโอเทคนั้น ก็เป็นอีกหน่วยงานที่ได้รับการอนุญาตจาก อย.ในการปลูกและผลิตกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ เบื้องต้นได้ที่การสังเคราะห์ตำรับยาไทยจำนวน 96 ตำรับ ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มที่ คือ
1. กลุ่ม ก. มี 16 ตัว ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สูตรชัด วิธีการชัดสามารถใช้ได้เลย ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษากลุ่มอาการ ปวด นอนไม่หลับ เป็นต้น
2. กลุ่ม ข.กลุ่มที่มีสูตรชัด แต่วิธีการปรุงยายังไม่ชัด ต้องศึกษาเพิ่มเติม
3. กลุ่ม ค. ต้องศึกษาวิจัย และ
4. กลุ่ม ง. กลุ่มที่ยังติดขัดในข้อกฎหมายอื่นๆ เช่น อนุสัญญาไซเตส เพราะมีการห้ามใช้สมุนไพรบางตัว
โดยกลุ่ม ก.ที่มี 16 ตำรับ ประกอบด้วย
1. ยาอัคคินีวคณะ จากคัมภีร์ธาตุพระนารายน์ แก้คลื่นเหียน อาเจียน
2. ยาศุขไสยาศน์ จากคัมภีร์ธาตุพระนารายน์ แก้สรรพโรคทั้งปวงหายสิ้น มีก้าลังกินเข้าได้ หลับสบาย
3. ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย จากตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
4. ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ จากตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
5. ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง จากตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
6. ยาไฟอาวุธ จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
7. ยาแก้นอนไม่หลับ ยาแก้ไข้ผอมเหลือง จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
8. ยาแก้สัณฑฆาต กล่อนแห้ง จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช แก้ลมเสียดแทง
9. ยาอัมฤตโอสถ จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
10. ยาอไภยสาลี จากตำราเวชศึกษา พระยาพิศณุประสาทเวช
11. ยาแก้ลมแก้เส้น จากตำราเวชศาตร์วัณ์ณณา
12. ยาแก้โรคจิต จากตำรายาอายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
13. ยาไพสาลี จากตำราอายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
14. ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง จากตำราอายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
15. ยาท้าลายพระสุเมรุ จากคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ และ
16. ยาทัพยาธิคุณ จากคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
กฎระเบียบและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
-ประกาศกระทรวงสาธารณะสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป
24 ม.ค. 2564
23 ม.ค. 2564
13 ก.พ. 2564
5 พ.ค. 2564